ประกันชีวิตมีแบบไหนบ้าง แบ่งเป็นกี่ชนิด

ประกันแบ่งออกเป็นกี่ประเภท กี่ชนิด กี่แบบ

คนส่วนมากทำประกันชีวิตมักจะ ซื้อประกันชีวิตผิดประเภท ผิดความต้องการ ไม่ตรงตามเป้าหมายและความต้องการที่ตั้งใจไว้ อาจเพราะซื้อตามคำแนะนำของคนอื่น โดยที่ไม่ได้เข้าใจรายละเอียดของกรมธรรม์ประกันชีวิตจริง ๆ

ยกตัวอย่างเช่น เราตัดสินใจซื้อประกันชีวิตตลอดชีพ เพราะเห็นว่าพ่อแม่เราซื้อประกันแบบนี้ เราเลยซื้อตาม ซึ่งจริง ๆ แล้ว ประกันชีวิตแบบตลอดชีพเหมาะสำหรับคุ้มครองชีวิตระยะยาว และเป็นมรดกให้ลูกหลานหรือครอบครัวคนข้างหลัง ซึ่งถ้าเราอยากมีเงินเก็บซักก้อน เพื่อนำไปลงทุนต่อยอกในอนาคต และไม่ได้วางแผนที่จะมีลูก หรืออยากมีเงินก้อนไว้ใช้นามเกษียณ การซื้อประกันแบบสะสมทรัพย์ หรือประกันชีวิตควบการลงทุน อาจจะเหมาะสมกว่า

ประกันชีวิต เน้นคุ้มครองชีวิต

– ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ

ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ หรือ Whole life เน้นคุ้มครองชีวิตตลอดชีพ หรือคุ้มครองสูงสุดถึงอายุ 90 ปี ไม่มีผลตอบแทน
เหมาะกับ คนที่เน้นความคุ้มครองชีวิตระยะยาว, คนที่อยากมีมรดกเก็บไว้ให้ลูกหลาน แบบไม่ต้องเสียภาษี

– ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา

แผนประกันแบบชั่วระยะเวลาให้ความคุ้มครองเฉพาะช่วงเวลา เช่น 10 ปี หรือ 20 ปี ไม่มีผลตอบแทน
เหมาะสำหรับ คนที่มีภาระทางการเงินในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น กำลังผ่อนรถ และคาดว่าอีก 5 ปี การผ่อนรถจะสิ้นสุดลง หรือต้องการจ่ายเบี้ยประกันในราคาต่ำ ก็สามารถทัประกันชีวิตแบบนี้ได้ หากมีเหตุสุดวิศัย หรือไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับเรา อย่างน้อยก็จะมีหลักประกันให้คนในครอบครัวหรือคนข้างหลัง

ประกันชีวิต เน้นออมเงิน

– ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์

ได้รับความคุ้มครองชีวิต และได้ออมเงินไปพร้อม ๆ กัน เมื่อสิ้นสุดกรมธรรม์ ก็จะได้รับเงินก้อน โดยสามารถเลือกได้ทั้งคุ้มครองระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว มีผลตอบแทน 2 แบบ คือ “เงินคืน” การันตีตัวเลขตามสัญญา และแบบ “เงินปันผล” ขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัทประกัน

เหมาะกับ คนที่วางแผนจะใช้เงินก้อนในอนาคต คนที่อยสกออมเงินระยะยาว ความเสี่ยงต่ำ ต้องการผลตอบแทนที่แน่นอน แต่ไม่เน้นความคุ้มครองชีวิตมากนัก เนื่องจากการทุนประกันคุ้มครองชีวิตประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์จะต่ำ

– ประกันชีวิตแบบบำนาญ

เป็นแผนประกันชีวิตเพื่อการวางแผนเกษียณ คุ้มครองชีวิตสูงสุดจนถึงอายุ 90 ปี พอถึงอายุรับบำนาญจะได้เงินคืนทุกปี คิดเป็นอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 2-4 % ต่อปี ไปเรื่อย ๆ จนสิ้นสุดความคุ้มครอง แต่ถ้าหากผู้เอาประกันเสียชีวิตก่อนที่จะถึงอายุบำนาญ จะได้รับเงินทุนประกันความคุ้มครอง 3-30 เท่าของเบี่ยที่จ่าย

เหมาะกับ ผู้ที่ต้องการมีเงินใช้หลังเกษียณ โดยมีการการันตีผลตอบแทนเป็น “เปอร์เซนต์” ที่แน่นอน

– ประกันชีวิตควบการลงทุน

คือประกันชีวิตคุ้มครองตลอดชีพควบการลงทุน คุ้มครองชีวิตถึงอายุ 99 ปี ปกติแล้วโดยส่วนมากเมื่อเราจ่ายเบี้ยประกันชีวิตไป เงินจะถูกเก็บไว้ในกรมธรรม์ แต่ประกันแบบ Unit Linked จะนำเงินส่วนหนึ่งไปลงทุน เพื่อหาผลตอบแทนเพิ่มเติม ซึ่งเราออกแบบได้เองว่าต้องการความคุ้มครองชีวิต หรืออมเงินสร้างผลตอบแทนมากกว่ากัน ส่วนผลตอบแทนก็ขึ้นอยู่กับแผนการลงทุน เฉี่ยแล้วสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 6-7% ต่อปี

เหมาะกับ คนที่ต้องการความคุ้มครองชีวิตและสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนไปพร้อม ๆ กัน

ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุ

– ประกันสุขภาพแบบชดเชยค่ารักษา

ถ้าเราเกิดเจ็บป่วยตรงตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ ก็สามารถเบิกเคลมค่ารักษาพยาบาลได้ ซึ่งก็มีแบบแยกค่าใช้จ่าย หรือ “Co-payment” โดยกำหนดวงเงินและความคุ้มครองแต่ละรายการ นอกเหนือจากนั้นเราจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนเกิน

อีกแบบจะเป็นแบบ “เหมาจ่าย” โดยกำหนดวงเงินค่าห้องและค่ารักษารวมสูงสุดต่อปี สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ ก็จะจ่ายตามจริง แต่ไม่เกินวงเงินสูงสุดต่อปี

เหมาะกับ คนที่ต้องการลดความเสี่ยงจากภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเนื่องจากเจ็บป่วย หรือต้องการเพิ่มวงเงินค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติมจากสวัสดิการที่มีอยู่เช่น ประกันสังคม

– ประกันสุขภาพแบบโรคร้ายแรง

ประกันสุขภาพแบบโรคร้ายแรงจะคุ้มครอง หากเราตรวจพบว่าป่วยเป็นโรคร้ายแรงตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ เช่น โรคมะเร็ง โรคไต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสอง ฯลฯ จะได้รับเงิยก้อนชดเชยตามกรมธรรม์ แต่เป็นคนละส่วนกับประกันสุขภาพแบบชดเชยค่ารักษา

เหมาะกับ ผู้ที่มีความเสี่ยงทางกรรมพันธุ์ หรือคนในครอบครัวมีประวัติป่วยด้วยโรคร้ายแรง หรืออาศัยในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยง เช่น ทำงานกับสารเคมี หรือฝุ่นควัน

– ประกันสุขภาพแบบคุ้มครองอุบัติเหตุ

ประกันแบบนี้จะคุ้มครองความเสี่ยงจากอุบัติเหตุโดยเฉพาะ มีทั้งวงเงินค่ารักษาพยาบาล วงเงินคุ้มครองการทุพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ วงเงินคุ้มครองการเสียชีวิต รวมถึงมีเงินค่าชดเชยสูญเสียรายได้หากต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

เหมาะกับ คนที่ต้องเดินทางบ่อย ๆ หรือผู้ที่ทำงานต่อการเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น พนักงานขับรถ พนักงานก่อสร้าง พนักงานในโรงงาน นายจ้างหรือเจ้าของกิจการสามารถทำประกันแบบนี้ให้พนักงานได้ เนื่องจากประกันสังคมจะไม่คุ้มครองการเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการทำงาน นายจ้างต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเอง

– ประกันสุขภาพแบบเว้นค่าเบี้ย

ประกันแบบนี้จะคุ้มครองผู้ชำระเบี้ยประกัน เราจะได้รับการยกเว้นการชำระเบี้ยประกัน แต่ยังได้รับความคุ้มครองเช่นเติมจนหมดอายุกรมธรรม์ เราจะได้รับการยกเว้นค่าเบี้ย หากเกิดเหตุการณ์ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในประกัน เช่น เราซื้อประกันชีวิตให้ลูก ถ้าหากเราเสียชีวิตกระทันหัน บริษัทก็จะยกเว้นค่าเบี้ยประกันของลูก แต่ยังได้รับความคุ้มครองเช่นเดิม

เหมาะกับ ผู้ปกครองที่ซื้อประกันชีวิตให้ผู้อื่น เช่น ลูกหลาน

ทุกคนคงเข้าใจกันแล้วว่า ประกันแต่ละแบบแต่ละประเภทมีจุดประสงค์อย่างไร เหมาะกับใครบ้าง ซึ่งเราสามารถเลือกได้ตามความต้องการ สิ่งสำคัญคือ ควรมีประกันสุขภาพ เพื่อลดความเสี่ยงภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเมื่อเกิดเจ็บป่วย ซึ่งจะทำให้สูญเสียเงินก้อนใหญ่โดยไม่คาดฝัน

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง