ความเสี่ยงของการเกษียณ

ความเสี่ยงหลังการเกษียณ

ช่วงเวลาหลังการเกษียณของแต่คนอาจจะยาวนานไม่เท่ากัน บางคนอาจสั้น บางคนอาจยาว ถ้าคนที่มีอายุยืน ชีวิตหลังเกษียณอาจจะกินเวลากว่า 1 ใน 3 ของเวลาทั้งชีวิต ดังนั้นจึงควรระวังถึงความเสี่ยงสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตหลังเกษียณของคุณให้ดี

ความเสี่ยงหลังการเกษียณ คือ ปัจจัยที่ทำให้คุณอาจประสบปัญหาทางการเงิน และทำให้การเกษียณของคุณไม่มีความสุข ซึ่งมีด้วยกัน 6 กลุ่มสำคัญ ดังนี้

1. ความเสี่ยงที่จะมีอายุยืนยาว

ยิ่งอายุยืน ยิ่งจะต้องใช้เงินมากขึ้น ความเสี่ยงข้อนี้เป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นความเสี่ยงที่ทำให้ความเสี่ยงข้ออื่น ๆ เพิ่มสูงยิ่งขึ้น ทั้งสุขภาพที่แย่ลง ต้องใช้เงินค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น หากเงินเฟ้อขึ้นทุกปี ค่าใช้จ่ายก็จะมากขึ้นทวีคูณ

2. ความเสี่ยงค่ารักษาพยาบาลสุขภาพหลังการเกษียณ

แน่นอนว่ายิ่งอายุมากขึ้น ร่างกายก็ไม่แข็งแรงเท่าเดิม เป็นการยากมากที่เราจะคำนวณค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลเพราะไม่มีใครบอกได้ว่าจะเจ็บป่วยมากน้อยและยาวนานแค่ไหน ยิ่งเงินเฟ้อของค่ารักษาพยาบาลสูงถึง 8-9% มากกว่าเงินเฟ้อทั่วไป และหากเป็นผู้ป่วยติดเตียงก็ต้องมีค่าพยาบาลหรือจ้างคนดูแลเพิ่มเติมอีก

4. ความเสี่ยงที่ถูกให้ออกจากงานก่อนเวลา

ถ้าโดนบังคับให้ออกจากงานในวัยเพียง 50 (early retirement) ทั้ง ๆ ที่เราวางแผนที่จะเกษียณตอนอายุ 60 ปี หมายความว่า เงินเดือนของอีก 10 ปีนั้นเราจะไม่ได้รับ ทำให้เรามีเงินน้อยลงหลังการเกษียณและเวลาของการเกษียณก็ยาวนานมากขึ้นด้วย

5. ความเสี่ยงของอัตราเงินเฟ้อ

เงินเฟ้อจะทำให้มูลค่าเงินในอนาคตลดน้อยลง เช่น เงิน 1 ล้านบาทในอีก 10 ปีข้างหน้า อาจจะเท่ากับ เงิน 8 แสนบาทในปัจจุบันก็ได้ ดังนั้นการฝากเงินในธนาคารอย่างเดียวคงไม่พอ เพราะมูลค่าเงินหลังเกษียณจะยิ่งลดลงเมื่อนำมาคำนวณกับเงินเฟ้อ

6. ความเสี่ยงจากผลตอบแทนในการลงทุน

ส่วนใหญ่ก่อนเกษียณคนเรามักลงทุนเชิงรุก เน้นลงทุนในสินทรัพย์ทีมีความเสี่ยงสูงหน่อยเพื่อสร้างความมั่งคั่ง แต่หลังเกษียณมักลงทุนเชิงรับมากขึ้น เนื่องจากหากลงทุนผิดพลาด ขาดทุนจำนวนมากขึ้นมาจะไม่มีเงินเติมเข้าไปใหม่แล้ว ดังนั้นหากผลตอบแทนหลังเกษียณไม่แน่นนอน ไม่ตามที่เราคาดการณ์ไว้จะทำให้เงินของเราเหลือน้อยตามไปด้วย

7. ความเสี่ยงทางการเงินที่ไม่คาดคิด

ไม่ว่าจะเป็นการถูกหลอกลวงจากมิจฉาชีพ การที่ลูกเอาหลานมาให้เลี้ยงดู หรือการบริหารงานที่ไม่มีประสิทธิภาพของรัฐบาลทำให้ต้องตัดงบประมาณนโยบายการเกษียณบางประการ เป็นต้น

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง