G6PD คืออะไร ห้ามกินอะไร และอาการ การปฏิบัติตัว

G6PD คืออะไร ทำไมเด็ก ๆ เป็นกันเยอะ

G6PD จี-6-พีดี หรือโรคแพ้ถั่วปากอ้า ห้ามกินอาหารและยาบางอย่าง เป็นชื่อย่อของเอมไซม์ กลูโคส-ซี-ฟอสเฟตดีไฮไดรจิเนส ใช้ในการป้องกันการทำลายของเม็ดเลือดแดง จากสารอนุมูลอิสระ เช่น ยาหรือสารเคมีบางชนิด ที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดง และหน้าที่อีกอย่างคือทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่ายกาย รวมถึงทำให้เม็ดเลือดแดงแข็งแรง

โรค G6PD

G6PD คือโรคขาดเอ็นไซม์ G6PD ในเม็ดเลือดแดง เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยตำแหน่งยีนที่ผิดปกติบนโครโมโซม ซึ่งอยู่บนโครโมโซมเพศ ดังนั้น โรคนี้จึงอยู่ติดตัว ไปตลอดชีวิต และอาจถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ โดยพบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิง การขาดเอ็นไซน์นี้ จึงทำให้เกิด  “ภาวะเม็ดเลือดแดง” แตกได้ง่ายขึ้น เมื่อกินอะไรบางอย่างเข้าไปกระตุ้น

ปัจจัยเลี่ยงในผู้ป่วยขาดเอ็นไซม์ G6PD

  1. การติดเชื้อไวรัส รา หรือแบคทีเรีย บางชนิด เช่น การเป็น หวัด ไข้ ไอ  โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคปอดอักเสบ โรคไข้ไทฟอยด์ 
  2. การได้รับยา และสารเคมีบางชนิด ที่เป็นข้อห้ามในผู้ป่วยขาดเอ็นไซม์ G6PD

อาการภาวะเม็ดเลือดแดงแตก

เมื่อผู้ป่วย G6PD ได้รับ ยา อาหารและสารเคมีบางอย่างที่เป็นข้อห้าม อาจจะทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก  ที่พบบ่อยคือ

  • เม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน ซึ่งเกิดใน24-48 ชั่วโมง หลังได้รับปัจจัยเลี่ยง
  • มีภาวะซีด เหลือง มีอาการดีซ่าน ในเด็กทารกจะพบภาวะเหลืองที่ยาวนานกว่าปกติ
  • ปัสสาวะซีด เหลืองเข้มหรือสีดำเหมือนสีน้ำชาหรือโค้ก ในรายที่ปัสสาวะน้อยอาจนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลันได้
  • ปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเหลว มีไข้ต่ำๆ อุณหภูมิกายสูงขึ้น ปวดหลัง 
  • เหนื่อย อ่อนเพลีย ซึมลง
  • อาจเกิดภาวะโลหิตจางตามมาได้

ทั้งนี้ ในผู้ป่วยแต่ละราย จะมีอาการรุนแรงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับภาวการณ์ขาดเอ็มไซม์ G6PD และอาหาร ยา สารเคมีที่ได้รับ ดังนั้นผู้ป่วยควรทราบรายชื่อยา อาหารและสารเคมีที่ควรหลีกเลี่ยง หากอาการไม่รุนแรงนักหลังได้รับการรักษามักกลับมาหายเป็นปกติ แต่ไม่สามารถหายขาดได้ และจะเป็นได้อีกหากได้รับปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรค

หลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้

  • ถั่วปากอ้า และพืชตระกูลถั่วที่มีผลเป็นฝัก เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วฝักยาว
  • ไวน์แดง
  • บลูเบอร์รี่
  • การบูรและพิมเสน
  • โทนิค (Tonic Water) เครื่องดื่มที่มีรสชาติ ค่อนข้างขมที่มีส่วนประกอบของ Quinine (คิวนิน)
  • สารประกอบที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย พบในสมุนไพรรสขม

ยาที่ต้องหลีกเลี่ยง

  • กลุ่มลดความดันโลหิต
  • ยารักษาโรคพาร์กินสัน
  • ยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด 
  • ยารักษาโรคเก๊าท์
  • ยาฮอร์โมน
  • ยารักษาโรคมาลาเรีย
  • ยาเคมีบำบัด
  • ยาแก้ปวดทางเดินปัสสาวะ
  • ยาต้านพิษ
  • ยาปฏิชีวนะ (ยาต้านจุลชีพ)
  • วิตามิน

ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคขาดเอ็มไซม์ G6PD ทางโรงพยาบาลจะมีสมุดประจำตัวผู้ป่วยให้

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย

  1. แจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งที่ป่วยมาโรงพยาบาลว่าเป็นโรคนี้
  2. เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยไม่สบาย ควรรีบปรึกษาแพทย์ ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
  3. เมื่อเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ควรรีบมาโรงพยาบาล เพื่อรับการรักษาทันที
  4. หลีกเลี่ยงยา อาหาร หรือสารเคมี ที่อาจทำให้เกิดอาการ
  5. รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อที่พบบ่อยเพื่อช่วยป้องกันการเกิดเม็ดเลือดแดงแตกจากการติดเชื้อนั้น ๆ 
  6. เมื่อจะมีบุตร ควรวางแผนครอบครัวและได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เรื่องการถ่ายทอดไปยังบุตร

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง