G6PD คืออะไร ทำไมเด็ก ๆ เป็นกันเยอะ
G6PD จี-6-พีดี หรือโรคแพ้ถั่วปากอ้า ห้ามกินอาหารและยาบางอย่าง เป็นชื่อย่อของเอมไซม์ กลูโคส-ซี-ฟอสเฟตดีไฮไดรจิเนส ใช้ในการป้องกันการทำลายของเม็ดเลือดแดง จากสารอนุมูลอิสระ เช่น ยาหรือสารเคมีบางชนิด ที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดง และหน้าที่อีกอย่างคือทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่ายกาย รวมถึงทำให้เม็ดเลือดแดงแข็งแรง
โรค G6PD
G6PD คือโรคขาดเอ็นไซม์ G6PD ในเม็ดเลือดแดง เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยตำแหน่งยีนที่ผิดปกติบนโครโมโซม ซึ่งอยู่บนโครโมโซมเพศ ดังนั้น โรคนี้จึงอยู่ติดตัว ไปตลอดชีวิต และอาจถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ โดยพบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิง การขาดเอ็นไซน์นี้ จึงทำให้เกิด “ภาวะเม็ดเลือดแดง” แตกได้ง่ายขึ้น เมื่อกินอะไรบางอย่างเข้าไปกระตุ้น
ปัจจัยเลี่ยงในผู้ป่วยขาดเอ็นไซม์ G6PD
- การติดเชื้อไวรัส รา หรือแบคทีเรีย บางชนิด เช่น การเป็น หวัด ไข้ ไอ โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคปอดอักเสบ โรคไข้ไทฟอยด์
- การได้รับยา และสารเคมีบางชนิด ที่เป็นข้อห้ามในผู้ป่วยขาดเอ็นไซม์ G6PD
อาการภาวะเม็ดเลือดแดงแตก
เมื่อผู้ป่วย G6PD ได้รับ ยา อาหารและสารเคมีบางอย่างที่เป็นข้อห้าม อาจจะทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ที่พบบ่อยคือ
- เม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน ซึ่งเกิดใน24-48 ชั่วโมง หลังได้รับปัจจัยเลี่ยง
- มีภาวะซีด เหลือง มีอาการดีซ่าน ในเด็กทารกจะพบภาวะเหลืองที่ยาวนานกว่าปกติ
- ปัสสาวะซีด เหลืองเข้มหรือสีดำเหมือนสีน้ำชาหรือโค้ก ในรายที่ปัสสาวะน้อยอาจนำไปสู่ภาวะไตวายเฉียบพลันได้
- ปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเหลว มีไข้ต่ำๆ อุณหภูมิกายสูงขึ้น ปวดหลัง
- เหนื่อย อ่อนเพลีย ซึมลง
- อาจเกิดภาวะโลหิตจางตามมาได้
ทั้งนี้ ในผู้ป่วยแต่ละราย จะมีอาการรุนแรงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับภาวการณ์ขาดเอ็มไซม์ G6PD และอาหาร ยา สารเคมีที่ได้รับ ดังนั้นผู้ป่วยควรทราบรายชื่อยา อาหารและสารเคมีที่ควรหลีกเลี่ยง หากอาการไม่รุนแรงนักหลังได้รับการรักษามักกลับมาหายเป็นปกติ แต่ไม่สามารถหายขาดได้ และจะเป็นได้อีกหากได้รับปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรค
หลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้
- ถั่วปากอ้า และพืชตระกูลถั่วที่มีผลเป็นฝัก เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วฝักยาว
- ไวน์แดง
- บลูเบอร์รี่
- การบูรและพิมเสน
- โทนิค (Tonic Water) เครื่องดื่มที่มีรสชาติ ค่อนข้างขมที่มีส่วนประกอบของ Quinine (คิวนิน)
- สารประกอบที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย พบในสมุนไพรรสขม
ยาที่ต้องหลีกเลี่ยง
- กลุ่มลดความดันโลหิต
- ยารักษาโรคพาร์กินสัน
- ยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ยารักษาโรคเก๊าท์
- ยาฮอร์โมน
- ยารักษาโรคมาลาเรีย
- ยาเคมีบำบัด
- ยาแก้ปวดทางเดินปัสสาวะ
- ยาต้านพิษ
- ยาปฏิชีวนะ (ยาต้านจุลชีพ)
- วิตามิน
ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคขาดเอ็มไซม์ G6PD ทางโรงพยาบาลจะมีสมุดประจำตัวผู้ป่วยให้
การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย
- แจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งที่ป่วยมาโรงพยาบาลว่าเป็นโรคนี้
- เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยไม่สบาย ควรรีบปรึกษาแพทย์ ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง
- เมื่อเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ควรรีบมาโรงพยาบาล เพื่อรับการรักษาทันที
- หลีกเลี่ยงยา อาหาร หรือสารเคมี ที่อาจทำให้เกิดอาการ
- รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อที่พบบ่อยเพื่อช่วยป้องกันการเกิดเม็ดเลือดแดงแตกจากการติดเชื้อนั้น ๆ
- เมื่อจะมีบุตร ควรวางแผนครอบครัวและได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เรื่องการถ่ายทอดไปยังบุตร