โอมิครอนมีผลกระทบต่อเด็ก รุนแรงแค่ไหน และควรป้องกันอย่างไร?

โอมิครอนมีผลต่อเด็กรุนแรงแค่ไหน ป้องกันอย่างไร?

การระบาดของโอมิครอน แม้ไม่ส่งผลรุนแรงต่อผู้ติดเชื้อ เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลต้า แต่ก็สร้างความวิตกให้กับหลาย ๆ คน โดยเฉพาะผู้ปกครองที่มีบุตรหลาน เนื่องจากกลุ่มเด็กยังไ้ได้รับการฉีดวัคซีน ซึ่งยังถือว่ามีความเสี่ยง

มีหลายประเทศที่พยายามจะฉีดวัคซีนให้กลุ่มเด็กตั้งแต่ 5 ขวบขึ้นไป แต่ก็ไม่ง่าย เนื่องจากยังมีหลายคนสงสัย ว่าการฉีดวัคซีนให้เด็กนั้นจะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากไวรัสได้แค่ไหน และโดยรวมโอมิครอนส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อเด็กอย่างไรบ้าง ?

ความรุนแรงของโอมิครอน?

  • จากงานวิจัยหลายฉบับทั่วโลก ผู้ติดเชื้อโอมิครอนส่วนใหญ่จะมีอาการป่วยไม่รุนแรง เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น เช่น เดลต้า ซึ่งผู้ติดเชื้อโดยเฉพาะใครที่ฉีดวัคซีนแล้วจะมีโอกาสป่วยหนักจนเข้ารักษาในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตมีอัตราที่ต่ำกว่า
  • สำหรับเด็กที่ติดเชื่อโควิดในสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรือมีอาการไม่รุนแรง ถ้ามีอาการป่วยจะมีเล็กน้อย เช่น น้ำมูกไหล มีไข้ ไม่สบาย 2-3 วัน ส่วนผลกระทบโอมิครอนต่อเด็กนั้น นักวิทยาศาสตร์ในหลาย ๆ ประเทศกำลังศึกษาวิจัยกันอยู่
  • เบื้องต้นทีมวิจัยของโรงพยาบาลซิดนีย์พบว่า ช่วงที่เกิดการระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลต้าเมื่อปีที่ผ่านมา มีเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี อย่างน้อย 20% ที่ไม่แสดงอาการป่วยอะไรเลย

โอมิครอนกับเด็กเล็ก

  • ไม่กี่สับปดาห์ที่ผ่านมาในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา จำนวนเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เข้ารักษาในโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้น ในระหว่างการระบาดของโอมิครอน
  • โดยส่วนใหญ่เด็กกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ศูนย์ควบคุมโรคและป้องกันโรคระบาดของสหรัฐอเมริกา แจ้งว่า ข้อมูลที่ปรากฏในกลุ่มเด็กเล็กยิ่งแสดงความจำเป็นในการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มเด็กโตและผู้ใหญ่ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปเด็กเล็ก
  • แต่ยังไม่มีข้อมูลการเจ็บป่วยรุนแรงกับการติดเชื้อโอมิครอนในกลุ่มเด็กอายุ 5 ขวบ
  • มีความเป็นไปได้ที่การเพิ่มขึ้นของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบในโรงพยาบาล อาจมาจากการติดเชื้อโรคหวัดหรือโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ เนื่องจากอังกฤษและอเมริกาตอนนี้อยู่ในช่วงหน้าหนาว

โอมิครอนระบาดทำให้เด็กเข้าโรงพยาบาลมากขึ้น?

  • การระบาดของโอมิครอนทำให้เด็กเข้ารักษาในบางประเทศเพิ่มมากขึ้น ในอเมริกาสัปดาห์ก่อนวันที่ 1 มกราคม มีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เฉลี่ย 4.3 คน ต่อ 100,000 คน ที่ติดโควิดและเข้ารักษาในโรงพยาบาล เพิ่มจากเดือนธันวาคม 48%
  • ถึงแม้โมิครอนจะทำให้เกิดอาการป่วยรุนแรงน้อยกว่า แต่สามารถระบาดได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น ทำให้มีเด็กติดเชื้อเพิ่มขึ้นสูงและรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้นด้วย
  • การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาลไม่ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขเท่าผู้ป่วยกลุ่มผู้ใหญ่ ในหลายประเทศ จำนวนเด็กที่ติดโควิดและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลยังต่ำกว่าผู้ป่วยกลุ่มอายุอื่น ๆ
  • เด็กจำนวนมากที่ถูกส่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมาจากเหตุผลอื่น ๆ ซึ่งไม่เกี่ยวกับโควิด ก่อนจะพบว่าติดเชื้อในภายหลัง ในขณะที่เด็กบางคนไม่มีอาการป่วย แต่ถูกส่งเข้ารับการดูแลในโรงพยาบาลเนื่องจากผู้ปกครองหรือสามชิกในครอบครัวเกิดป่วยหนักจนไม่สามารถดูแลเด็กได้

ประโยชน์ของวัคซีนสำหรับเด็ก?

  • ถึงแม้โควิดจะไม่มีอาการที่รุนแรงต่อเด็กส่วนใหญ่ แต่การให้วัคซีนสำหรับเด็กยังมีผลดีอย่างน้อย 2 อย่างคือ ช่วยปกป้องกลุ่มเสี่ยงอื่น ๆ และลดความเสี่ยงของเด็กในการเกิดอาการรุนแรง
  • สำหรับเด็กที่มีปัญหาสุขภาพ การฉีดวัคซีนยังมีความจำเป็น ผู้เชี่ยวชาญคิดว่าเด็กกลุ่มนี้ควรได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มแรก
  • จากการวิจัย เด็กที่มีภาวะพันธุกรรม ระบบประสาท รวมถึงผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ปอด มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการป่วยหนักจากการติดโควิดได้มากขึ้น เด็กที่เป็นโรคอ้วน เบาหวาน หอบหืดรุนแรง ก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเช่นกัน เด็กกลุ่มนี้ควรได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 โดส
  • เด็กส่วนใหญ่ที่ไม่มีปัญหาสุขภาพ การฉีดวัคซีนเพียง 1 โดสก็ป้องกันโควิดได้ในระดับสูง
  • การฉีดวัคซีนแก่เด็กยังช่วยป้องกันการเกิดอาการร้ายแรงจากการติดเชื้อโควิด เช่นอาการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งอาจเกิดในช่วง 2-3 สัปดาห์หลังการติดเชื้อ