IPD และ OPD คืออะไร
ทำประกันสุขภาพ ติดตัวไว้เจ็บป่วยเมื่อไรก็สบายใจ หมดห่วงเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เพราะกรมธรรม์ประกันสุขภาพคอยดูแลช่วยเหลือเรื่องค่ารักษาพยาบาลตามเงื่อนไขที่กรมธรรม์กำหนดไว้ ดังนั้นเพื่อให้ได้ความคุ้มครองในการรักษาพยาบาลที่ครอบคลุม ก่อนเลือกสมัครประกันสุขภาพ ต้องศึกษารายละเอียดกรมธรรม์ให้ชัดเจน โดยเฉพาะความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแบบ IPD และ OPD ซึ่งมีความสำคัญในการเลือกซื้อ ประกันสุขภาพ อย่างไร วันนี้เราจะมาคลายข้อสงสัยสิ่งที่ควรรู้พื้นฐานก่อนตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพให้ได้ทราบกัน
IPD และ OPD คืออะไร สำคัญกับ ประกันสุขภาพ อย่างไร
IPD เป็นตัวย่อมาจาก In-Patient Department คือ ผู้ป่วยใน ที่เข้ารับการรักษาและต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป โดยต้องได้รับการวินิจฉัยและคำแนะนำจากแพทย์ก่อนเสมอ โดยไม่รวมเวลานั่งรอหมอ รวมถึงกรณีการรับตัวไว้เป็นผู้ป่วยในแต่เสียชีวิตก่อนครบ 6 ชั่วโมงอีกด้วย ประกันสุขภาพผู้ป่วยในความคุ้มครองจะครอบคลุมถึงค่าแพทย์ ค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่าผ่าตัด ค่า LAB ส่วนใหญ่ผู้ซื้อประกันจะซื้อประกันแบบนี้ให้กับผู้สูงอายุและเด็ก เนื่องจากมีโอกาสเจ็บป่วยได้มากกว่าผู้ใหญ่วัยทำงาน
OPD คือ Out-Patient Departmentหมายถึง ผู้ป่วยนอก คือคำที่ใช้เรียกผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแบบไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่กลับบ้านได้เลยโดยไม่ต้องนอนรักษาตัว หลังจากพบแพทย์ตรวจอาการ รับยา และชำระค่ารักษาพยาบาลเรียบร้อย สามารถกลับบ้านได้ตามปกติ ซึ่งส่วนมากเป็นการรักษาปัญหาสุขภาพที่ไม่รุนแรง หรือการป่วย ที่มีอาการ เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เป็นหวัด ปวดหัว ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องรอดูอาการ ซึ่งหลายคนมองว่าประกัน OPD ไม่จำเป็น เนื่องจากสามารถดูแลรักษาตนเองเบื้องต้นได้อยู่แล้ว
IPD และ OPD ทำไมสำคัญกับการทำประกันสุขภาพ
หลังจากเข้าใจความหมายของ IPD และ OPD แล้ว สิ่งสำคัญเมื่อตัดสินใจจะทำประกันสุขภาพ พิจารณาความต้องการของตนเองและควรศึกษารายละเอียดความคุ้มครองที่จะได้รับ เพราะประกันสุขภาพบางกรมธรรม์จะให้ความคุ้มครองเฉพาะค่ารักษาพยาบาลแบบ IPD หรือ ผู้ป่วยในเท่านั้น ซึ่งนั่นหมายความว่า หากคุณเจ็บป่วยแล้วเข้ารับการรักษาพยาบาลแบบ OPD หรือ ผู้ป่วยนอก ประกันสุขภาพก็จะไม่ให้ความคุ้มครอง ซึ่งคุณจะต้องออกเงินค่ารักษาพยาบาลด้วยตัวเอง และไม่สามารถเคลมเบิกค่ารักษาพยาบาลกับทางบริษัทประกันได้ โดยส่วน IPD นั้นควรดูความคุ้มครองที่ให้ขณะรักษาพยาบาลนั้นเท่าไหร่ และความคุ้มครองส่วน OPD คุ้มครองค่าอะไรบ้าง
ดังนั้นการเลือกทำ ประกันสุขภาพ ที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลทั้งแบบผู้ป่วยใน และ ผู้ป่วยนอก จะช่วยให้คุณประหยัดเงินในรักษาพยาบาลได้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือ ป่วยหนักต้องนอนโรงพยาบาล คุณก็ไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
ประกันสุขภาพสำหรับเด็ก
ควรเน้นไปที่ IPD เพราะว่า มีค่าใช้จ่ายที่สูง ทั้งค่าพยาบาลดูแล ค่าห้องพัก ค่าแพทย์ ค่ารักษา ค่าผ่าตัด ค่าห้องพักเด็กซึ่งปัจจุบันนี้มีราคาที่สูงกว่าห้องรักษาตัวของผู้ใหญ่ ต้องมีขั้นต่ำ คือ 20,000 บาท ต่อวันในโรงพยาบาลเอกชน
อีกเหตุผลหนึ่งคือ เด็กเล็กยังไม่สามารถบอกเราได้ว่าเป็นอะไร เจ็บป่วยตรงไหน ต้องได้รับการวินิจฉัยหรือตรวจจากแพทย์เท่านั้น